27 สิงหาคม 2555
กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความที่ 2
ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นครูของแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงสอนให้คนไทยรู้จักและเข้าใจดิน น้ำ ลม ไฟ สอนให้รู้จักการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนทำได้เลย พระองค์ทรงสอนทุกสิ่งทุกอย่างจากห้องเรียนจริง และเรื่องที่พระองค์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ เรื่องการเกษตร และยังมีเรื่องอื่นๆ รวมทั้งเรื่องการศึกษา ดังที่พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า “ ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ” การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักทุกอย่างเป็นเพราะต้องการที่จะเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ในเรื่องที่พระองค์ไม่รู้พระองค์ก็จะต้องทำให้รู้ให้ได้ เพื่อที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับประชาชนในประเทศของพระองค์
ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถ้าเป็นครูดิฉันก็จะเป็นครูที่ใฝ่เรียนรู้เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ดิฉันจะถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับนักเรียนโดยไม่กักความรู้ และจะทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม ดิฉันจะสอนให้นักเรียนเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้ เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
จะจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ได้คิดหาวิธีการแก้ปัญหา ได้ลองผิดลองถูกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
บทความที่ 3 เรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
สตีฟ จ๊อบส์ เป็นคนมีความพากเพียรพยายาม ขยัน และตั้งใจที่จะทำสิ่งที่คาดหวังให้บรรลเป้าหมาย เค้าอาจเป็นคนที่มีการศึกษาไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการ“ฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา” กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด
ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคี
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี
2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น
5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี
2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี
4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน
5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้
6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม
20 สิงหาคม 2555
กิจกรรมที่ 9
การจัดห้องเรียน
1. การจัดวางวัสดุควร จัดวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการ เพื่อให้เด็กสามารถใช้หรือทำกิจกรรมได้สะดวกด้วยตนเอง โดย วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น และครุภัณฑ์ ที่จัดให้สำหรับเด็กปฐมวัยมีหลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง กระดานขายของ บอร์ดติดผลงาน ตู้เก็บของ ที่แขวนถ้วย ที่แขวนผ้าเช็ดหน้า ที่เก็บเครื่องนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ล้างมือ ประตู หน้าต่าง สื่อ เครื่องเล่น เป็นต้น
2. วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ควรให้มีขนาดเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
3. การจัดพื้นที่ในห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสม เลือกที่ตั้งครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่างๆ และมุมประสบการณ์ โดยคำนึงถึง- ทิศทางลมเหมาะสม และแสงสว่างเพียงพอต่อการทำกิจกรรม- มีแสงแดดส่องเหมาะสม ไม่รบกวนสายตาเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม- สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น
- ทุกจุดของห้องควรให้มองเห็นได้โดยรอบ
- จัดวาง/ตั้ง ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ ที่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรม
4. สภาพแวดล้อมในห้องควรมีความปลอดภัย โดย- พื้นห้องควรโล่ง กว้าง มีบริเวณนุ่ม มีบริเวณที่ตั้งอุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น- ตรวจความเรียบร้อยของวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเครื่องเล่นหากชำรุดต้องรีบซ่อมแซมโดยเร็ว
- กำหนดขอบเขตของมุมประสบการณ์ให้เด็กรู้
- หน้าต่าง ครุภัณฑ์ต่างๆ ไม่ควรทำด้วยกระจก
- ดูแลบริเวณทั่วไปให้ปลอดภัยจากสัตว์ แมลง พืช และสารเคมีที่มีพิษ
- ครุภัณฑ์ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ควรเป็นมุมแหลมที่เป็นอันตราย
การจัดแสดงผลงานและการเก็บของ ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
- จัดให้มีที่แสดงผลงานเสนอภาพเขียน หรืองานหัตถกรรมเด็กๆ
- จัดที่แสดงให้น่าสนใจและสดชื่น
- ให้เด็กเห็นของแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เด็กไม่เคยเห็น
- ส่งเสริมให้เด็กๆ รู้จักเลือกสรรว่าจะทำอะไร จัดแสดงอะไร ฯลฯ
- กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
- สอนให้รู้จักจัดของเป็นกลุ่ม และเลือกของออกมาใช้ตามความต้องการ
- สร้างนิสัยในการเก็บของให้เป็นที่เป็นทาง
1. การจัดวางวัสดุควร จัดวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการ เพื่อให้เด็กสามารถใช้หรือทำกิจกรรมได้สะดวกด้วยตนเอง โดย วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น และครุภัณฑ์ ที่จัดให้สำหรับเด็กปฐมวัยมีหลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง กระดานขายของ บอร์ดติดผลงาน ตู้เก็บของ ที่แขวนถ้วย ที่แขวนผ้าเช็ดหน้า ที่เก็บเครื่องนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ล้างมือ ประตู หน้าต่าง สื่อ เครื่องเล่น เป็นต้น
2. วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ควรให้มีขนาดเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
3. การจัดพื้นที่ในห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสม เลือกที่ตั้งครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่างๆ และมุมประสบการณ์ โดยคำนึงถึง- ทิศทางลมเหมาะสม และแสงสว่างเพียงพอต่อการทำกิจกรรม- มีแสงแดดส่องเหมาะสม ไม่รบกวนสายตาเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม- สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น
- ทุกจุดของห้องควรให้มองเห็นได้โดยรอบ
- จัดวาง/ตั้ง ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ ที่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรม
4. สภาพแวดล้อมในห้องควรมีความปลอดภัย โดย- พื้นห้องควรโล่ง กว้าง มีบริเวณนุ่ม มีบริเวณที่ตั้งอุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น- ตรวจความเรียบร้อยของวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเครื่องเล่นหากชำรุดต้องรีบซ่อมแซมโดยเร็ว
- กำหนดขอบเขตของมุมประสบการณ์ให้เด็กรู้
- หน้าต่าง ครุภัณฑ์ต่างๆ ไม่ควรทำด้วยกระจก
- ดูแลบริเวณทั่วไปให้ปลอดภัยจากสัตว์ แมลง พืช และสารเคมีที่มีพิษ
- ครุภัณฑ์ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ควรเป็นมุมแหลมที่เป็นอันตราย
การจัดแสดงผลงานและการเก็บของ ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
- จัดให้มีที่แสดงผลงานเสนอภาพเขียน หรืองานหัตถกรรมเด็กๆ
- จัดที่แสดงให้น่าสนใจและสดชื่น
- ให้เด็กเห็นของแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เด็กไม่เคยเห็น
- ส่งเสริมให้เด็กๆ รู้จักเลือกสรรว่าจะทำอะไร จัดแสดงอะไร ฯลฯ
- กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
- สอนให้รู้จักจัดของเป็นกลุ่ม และเลือกของออกมาใช้ตามความต้องการ
- สร้างนิสัยในการเก็บของให้เป็นที่เป็นทาง
กิจกรรมที่ 8
ครูมืออาชีพในอุดมคติ
ต้องมีความรอบรู้ มีวิญญาณความเป็นครู มีความซื่อสัตย์ มีความอดทน กระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีความสามารถพิเศษในศิลปะวิทยาการหลายอย่าง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สะอาด สง่าผ่าเผย มีสุขภาพอนามัยส่วนตัวดี
แนวคิดทางศาสนา
1. ปิโย คือ การทำตัวให้เป็นประโยชน์เป็นที่รักแก่ศิษย์ และบุคคลทั่วไป
2. คุรุ คือ การเป็นบุคคลที่มีความหนักแน่น มีจิตใจมั่นคง
3. ภาวนีโย คือ การเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติอันดีงาม
4. วัตตา คือ เป็นผูมีความมานะในการตักเตือนสั่งสอน โดยไม่เกรงกลัวว่าจะเกลียดหรือโกรธ
5. วจนนักขโม คือ ความเป้นผู้มีความอดทนต่อถ้อยคำ โดยมีเจตนาดีเป็นที่ตั้ง
06 สิงหาคม 2555
กิจกรรมที่ 7
โทรทัศน์ครู
สอนเรื่อง คณิตศาสตร์อย่างง่าย
ผู้สอน คุณครู มาลิณี ชมภูวิเศษ
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
เนื้อหาที่ใช่สอน
เป็นการสอนในสาระวิชาคณิตศาสตร์ โดยเน้นการสอนเลขอย่างง่าย เริ่มจากการนับจำนวนเลขหลักหน่วย หลักสิบ ตามลำดับและเรียนรู้การบวก ลบ รู้จักตัวเลขที่มีจำนวนเท่ากันแต่เขียนต่างกันเช่น การเขียนเลขสี่ไทยกับเลขสี่อินโดอารบิก
จัดกิจกรรมการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม คือ ให้นักเรียนได้มีส่วนในการคิด และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของแต่ละคน ผู้สอนมีหน้าที่แนะนำและอธิบายข้อสงสัยต่างๆที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ
การสอนด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างโจทย์และแสดงความคิดหาคำตอบ
การสอนด้านอารมณ์ เสริมสร้างความมั่นใจในนเอง การมีสติในการคำนวณ
การสอนด้านคุณธรรม จริยธรรม ความขยัน ความสามัคคี ความร่วมมือกันช่วยเหลือกัน
บรรยากาศการจัดห้องเรียน
บรรยากาศในกาเรียนการสอนเป็นไปอย่างสนุกสนาน เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ฝึกทักษะการใช่ความคิด และลงมือทำด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น ครูผู้สอนมีการนำวัสดุที่เหลือใช่มาทำเป็นอุปกรณ์หนึ่งในการเล่นเกมส์ โดยเกมส์จะเป็นการบวกและลบเลขซึ่งมีเนื้อหาวิชาสอดแทรกอยู่ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนมากขึ้น
สอนเรื่อง คณิตศาสตร์อย่างง่าย
ผู้สอน คุณครู มาลิณี ชมภูวิเศษ
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
เนื้อหาที่ใช่สอน
เป็นการสอนในสาระวิชาคณิตศาสตร์ โดยเน้นการสอนเลขอย่างง่าย เริ่มจากการนับจำนวนเลขหลักหน่วย หลักสิบ ตามลำดับและเรียนรู้การบวก ลบ รู้จักตัวเลขที่มีจำนวนเท่ากันแต่เขียนต่างกันเช่น การเขียนเลขสี่ไทยกับเลขสี่อินโดอารบิก
จัดกิจกรรมการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม คือ ให้นักเรียนได้มีส่วนในการคิด และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของแต่ละคน ผู้สอนมีหน้าที่แนะนำและอธิบายข้อสงสัยต่างๆที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ
การสอนด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างโจทย์และแสดงความคิดหาคำตอบ
การสอนด้านอารมณ์ เสริมสร้างความมั่นใจในนเอง การมีสติในการคำนวณ
การสอนด้านคุณธรรม จริยธรรม ความขยัน ความสามัคคี ความร่วมมือกันช่วยเหลือกัน
บรรยากาศการจัดห้องเรียน
บรรยากาศในกาเรียนการสอนเป็นไปอย่างสนุกสนาน เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ฝึกทักษะการใช่ความคิด และลงมือทำด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น ครูผู้สอนมีการนำวัสดุที่เหลือใช่มาทำเป็นอุปกรณ์หนึ่งในการเล่นเกมส์ โดยเกมส์จะเป็นการบวกและลบเลขซึ่งมีเนื้อหาวิชาสอดแทรกอยู่ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)