18 กันยายน 2555

กิจกรรมทดสอบปลายภาคเรียน

1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน

แท็บเล็ตคืออะไร
       แท็บเล็ต คือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ควบคุมการใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัส มีขนามเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกกาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอิมเตอร์เน็ตแบบ WiFi และ WiFi + 3G
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
           งานเขียนของคุณ  สุรศักดิ์ ปาเฮ เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย        
           นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่ 26สิงหาคม 2554  เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ  ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้  โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ  พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮม(Cyber  Home) ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา(Tablet  for  Education)ที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One  Tablet  PC  Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ จำนวน 539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ครั้งนี้

จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
            1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
            2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
            4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
            5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระใน
การเรียนรู้
            จากสรุปผลงานวิจัยของ Bata  ICT  Research  ที่ได้ศึกษาผลการใช้แท็บเล็ตพีซีประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 12 โรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงระหว่าง ค.ศ.2004-2005 ซึ่งมีผลการศึกษาหลายประการที่นำมาพิจารณาและนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทด้านการศึกษาของไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้

ด้านการเรียน
         การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง

ด้านหลักสูตร
         สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
            ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ต  เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการเรียนการสอน  และก้าวไปสู่การศึกษาสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  มิใช่เป็นเพียงม่านบังตาที่ฝรั่งเห็นแล้วอมยิ้ม  เพราะการศึกษาของไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
 ที่มา : บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย ( Tablet for Education : The Opportunity and Challenge ) โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ

  2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ตอบ  ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด  โดยสร้างขึ้นจากสภาพความตึงเครียด  อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์  โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย  เดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้  เพราะแต่ละประเทศอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  และที่สำคัญไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียน  ดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า
สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาค  นั้น  จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนนอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิญญาน คือ การทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึงการเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน  เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
            ในอนาคตคนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา  ดังนั้น  การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ  เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่  ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน
            1. ปรับกรอบแนวคิดของตัวเองให้เปิดกว้าง ศึกษาให้เข้าใจถึงผลกระทบทุกด้าน เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อการวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่คืบคลานเข้ามา
            2. ศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียนให้ดีว่า มันคืออะไร หน้าตาของประชาคมอาเซียนเป็นอย่างไร
            3. ฝึกฝนเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะ ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน และควรเพิ่มการฝึกฝนภาษาที่ 4 ด้วย   
            4. ศึกษาและทำความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับกฎและระเบียบต่างๆของ          
            5. พัฒนาทักษะของเราให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ และเป็นที่ต้องการของตลาด
อ้างอิง
           ดร.ชูศักดิ์  ประเสริฐ .เรื่องสมาคมอาเซียน. ผอ.กลุ่มนโยบายและแผน
          ไมตรี  สุนทรวรรณ. เรื่องสมาคมอาเซียน. กรรมการผู้จัดการ.

3. ความเป็นครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
            การที่ครูจะเป็นผู้นำทางด้านวิชาการหรือทางด้านการสอนนั้น ครูจะต้องมีพฤติกรรมดังนี้ คือ         

            1. หนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน เพื่อเราจะได้รู้ถึงความรสนิยมความต้องการของบุคคลต่างๆและความเคลื่อนไหวของทุกมุมโลกเพื่อจะได้บอกต่อให้กับผู้อื่นได้รู้ตามด้วย

            2. อยู่กับปัจจุบัน/ทันสมัย การเป็นครูที่มีภาวะผู้นำนั้นจะต้องก้าวทันกับโลกปัจจุบันรูจักนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน รู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆได้ทันท่วงที

       3. หาข้อมูลมีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก ครูที่เป็นผู้นำในการสอนที่ดีนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้เด็กนักเรียนได้รู้จักนำมาวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือความรู้ใหม่ๆในวิชาที่สอนหรือจะเป็นความรู้หรือข้อมูลข่าวสารอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวของนักเรียนเอง

            4. ทำให้นักเรียนแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ในการที่ครูเป็นภาวะผู้นำให้แก่นักเรียนแล้ว ครูจะต้องให้นักเรียนได้รู้จักฝึกการเป็นภาวะผู้นำด้วย เช่น ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ได้พูดยกตัวอย่างให้นักเรียนได้ฟัง หรือการให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนการเป็นตัวแทนในการจัดกิจกรรมต่างๆ

            5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะการที่จะสร้างเด็กให้มีคุณภาพนั้นไม่ได้อยู่ที่เด็กมีความรู้ที่ดีเพียงอย่างเดียวแต่เด็กจะต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการเสียสละ รู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเด็กเหล่านี้จึงจะสามารถเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตได้

       6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง นอกจากการที่ครูจะสอนและให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องต่างๆแล้ว ครูที่มีภาวะความเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำต้องมีการเชิญวิทยากรหรือผู้มีความรู้เฉพาะทางมรให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นและได้รับความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆมากขึ้นด้วย

            7.  ท้าทายให้เด็กคิด ในจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพนั้นจะต้องนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์อยู่เสมอ เช่น มีการตั้งคำถามแล้วให้นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันจนสามารถหาคำตอบได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเป็นคนรู้จักคิดและคิดได้ในหลายหลายแง่มุม

   4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
            วิชานี้เป็นวิชาที่ดิฉันเองให้ความสนใจมาก เพราะเป็นวิชาที่แปลกใหม่เป็นการใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค่ามาก เพราะหลายคนนักที่ไม่ได้เรียนรู้หรือรู้จักบล็อก ตอนแรกในการเรียนดิฉันสับสนไม่เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์ให้ทำแต่เมื่อเริ่มทำไปพร้อมๆกับอาจารย์ก็รู้สึกว่าสนุกเป็นสิ่งใหม่ที่เราเองได้เรียนรู้เมื่อไม่เข้าใจหรือทำไม่ถูกก็จะขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอนและนำมาปฏิบัติลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งจนเกิดความชำนาญ
            วิชานี้เป็นวิชาที่ทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจุบัน เป็นสิ่งที่หน้าเรียนรู้ เราสามารถเอาเวลาที่เราเปิดคอมเล่นคอมอยู่สามารถเข้ามาเล่นบล็อกได้โดยไม่เสียเวลาป่าวทำให้ไม่น่าเบื่อ และสนุกในการทำงาน
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
ควรให้คะแนนการปฏิบัติมากกว่าการสอบแต่ละครั้ง
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
พยายามฟังอาจารย์ทุกครั้งที่อาจารย์อธิบาย ตั้งใจทำและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
ไม่ได้มาเรียนระยะหลังๆ ประมาณ 1-2 ครั้งแต่จะทำงานส่งและจะถามเพื่อนๆตลอดว่าอาจารย์สอนอะไรบ้างในวันนั้น
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
จริง  เพราะเมื่ออาจารย์สั่งงานถ้าทำไม่เสร็จก็จะกลับมาทำที่ห้องจนเสร็จ
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
ทำเองทุกครั้ง อาจจะมีแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและนำมาสรุปเป็นความคิดในแบบของเราเอง
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
เป็นความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
เกรด A เพราะตั้งใจทำงานทุกครั้ง ส่งงานทุกชิ้น ไม่เคยต้องให้อาจารย์มาคอยจี้เรื่องการทำงาน
         

27 สิงหาคม 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน



บทความที่ 2

ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นครูของแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงสอนให้คนไทยรู้จักและเข้าใจดิน น้ำ ลม ไฟ สอนให้รู้จักการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนทำได้เลย พระองค์ทรงสอนทุกสิ่งทุกอย่างจากห้องเรียนจริง และเรื่องที่พระองค์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ เรื่องการเกษตร และยังมีเรื่องอื่นๆ รวมทั้งเรื่องการศึกษา ดังที่พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า “ ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ” การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักทุกอย่างเป็นเพราะต้องการที่จะเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ในเรื่องที่พระองค์ไม่รู้พระองค์ก็จะต้องทำให้รู้ให้ได้ เพื่อที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับประชาชนในประเทศของพระองค์


ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ถ้าเป็นครูดิฉันก็จะเป็นครูที่ใฝ่เรียนรู้เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ดิฉันจะถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับนักเรียนโดยไม่กักความรู้ และจะทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม ดิฉันจะสอนให้นักเรียนเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้ เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
จะจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ได้คิดหาวิธีการแก้ปัญหา ได้ลองผิดลองถูกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้





บทความที่ 3 เรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ


สตีฟ จ๊อบส์ เป็นคนมีความพากเพียรพยายาม ขยัน และตั้งใจที่จะทำสิ่งที่คาดหวังให้บรรลเป้าหมาย เค้าอาจเป็นคนที่มีการศึกษาไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการ“ฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา” กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด
ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ


3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคี

1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี

2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน

3.เขียนจุดประสงค์การสอน

4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น

5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี


การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี

2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี

3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน

5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้

6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม

20 สิงหาคม 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดห้องเรียน


1. การจัดวางวัสดุควร จัดวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการ เพื่อให้เด็กสามารถใช้หรือทำกิจกรรมได้สะดวกด้วยตนเอง โดย วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น และครุภัณฑ์ ที่จัดให้สำหรับเด็กปฐมวัยมีหลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง กระดานขายของ บอร์ดติดผลงาน ตู้เก็บของ ที่แขวนถ้วย ที่แขวนผ้าเช็ดหน้า ที่เก็บเครื่องนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ล้างมือ ประตู หน้าต่าง สื่อ เครื่องเล่น เป็นต้น

2. วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ควรให้มีขนาดเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

3. การจัดพื้นที่ในห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสม เลือกที่ตั้งครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่างๆ และมุมประสบการณ์ โดยคำนึงถึง- ทิศทางลมเหมาะสม และแสงสว่างเพียงพอต่อการทำกิจกรรม- มีแสงแดดส่องเหมาะสม ไม่รบกวนสายตาเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม- สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น
- ทุกจุดของห้องควรให้มองเห็นได้โดยรอบ
- จัดวาง/ตั้ง ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ ที่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรม

4. สภาพแวดล้อมในห้องควรมีความปลอดภัย โดย- พื้นห้องควรโล่ง กว้าง มีบริเวณนุ่ม มีบริเวณที่ตั้งอุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น- ตรวจความเรียบร้อยของวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเครื่องเล่นหากชำรุดต้องรีบซ่อมแซมโดยเร็ว
- กำหนดขอบเขตของมุมประสบการณ์ให้เด็กรู้
- หน้าต่าง ครุภัณฑ์ต่างๆ ไม่ควรทำด้วยกระจก
- ดูแลบริเวณทั่วไปให้ปลอดภัยจากสัตว์ แมลง พืช และสารเคมีที่มีพิษ
- ครุภัณฑ์ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ควรเป็นมุมแหลมที่เป็นอันตราย
การจัดแสดงผลงานและการเก็บของ ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
- จัดให้มีที่แสดงผลงานเสนอภาพเขียน หรืองานหัตถกรรมเด็กๆ
- จัดที่แสดงให้น่าสนใจและสดชื่น
- ให้เด็กเห็นของแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เด็กไม่เคยเห็น
- ส่งเสริมให้เด็กๆ รู้จักเลือกสรรว่าจะทำอะไร จัดแสดงอะไร ฯลฯ
- กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
- สอนให้รู้จักจัดของเป็นกลุ่ม และเลือกของออกมาใช้ตามความต้องการ
- สร้างนิสัยในการเก็บของให้เป็นที่เป็นทาง

กิจกรรมที่ 8


ครูมืออาชีพในอุดมคติ
       
       ต้องมีความรอบรู้ มีวิญญาณความเป็นครู มีความซื่อสัตย์ มีความอดทน กระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีความสามารถพิเศษในศิลปะวิทยาการหลายอย่าง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สะอาด สง่าผ่าเผย มีสุขภาพอนามัยส่วนตัวดี
แนวคิดทางศาสนา
          1. ปิโย คือ การทำตัวให้เป็นประโยชน์เป็นที่รักแก่ศิษย์ และบุคคลทั่วไป
          2. คุรุ   คือ  การเป็นบุคคลที่มีความหนักแน่น มีจิตใจมั่นคง
          3. ภาวนีโย คือ การเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติอันดีงาม
          4. วัตตา คือ เป็นผูมีความมานะในการตักเตือนสั่งสอน โดยไม่เกรงกลัวว่าจะเกลียดหรือโกรธ
          5. วจนนักขโม คือ ความเป้นผู้มีความอดทนต่อถ้อยคำ โดยมีเจตนาดีเป็นที่ตั้ง
          

06 สิงหาคม 2555

กิจกรรมที่ 7

โทรทัศน์ครู
สอนเรื่อง  คณิตศาสตร์อย่างง่าย
ผู้สอน       คุณครู มาลิณี ชมภูวิเศษ
ระดับชั้น   ประถมศึกษาปีที่ 1
เนื้อหาที่ใช่สอน
                 เป็นการสอนในสาระวิชาคณิตศาสตร์ โดยเน้นการสอนเลขอย่างง่าย เริ่มจากการนับจำนวนเลขหลักหน่วย หลักสิบ ตามลำดับและเรียนรู้การบวก ลบ รู้จักตัวเลขที่มีจำนวนเท่ากันแต่เขียนต่างกันเช่น การเขียนเลขสี่ไทยกับเลขสี่อินโดอารบิก

จัดกิจกรรมการสอน
                กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม คือ ให้นักเรียนได้มีส่วนในการคิด และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของแต่ละคน ผู้สอนมีหน้าที่แนะนำและอธิบายข้อสงสัยต่างๆที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ
               การสอนด้านสติปัญญา  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างโจทย์และแสดงความคิดหาคำตอบ
               การสอนด้านอารมณ์     เสริมสร้างความมั่นใจในนเอง การมีสติในการคำนวณ
               การสอนด้านคุณธรรม จริยธรรม ความขยัน ความสามัคคี ความร่วมมือกันช่วยเหลือกัน

บรรยากาศการจัดห้องเรียน
              บรรยากาศในกาเรียนการสอนเป็นไปอย่างสนุกสนาน เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ฝึกทักษะการใช่ความคิด และลงมือทำด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น ครูผู้สอนมีการนำวัสดุที่เหลือใช่มาทำเป็นอุปกรณ์หนึ่งในการเล่นเกมส์ โดยเกมส์จะเป็นการบวกและลบเลขซึ่งมีเนื้อหาวิชาสอดแทรกอยู่ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนมากขึ้น

16 กรกฎาคม 2555

กิจกรรมที่ 6

เศรษฐกิจพอเพียง

           จุดหมายในปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยและ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป พบว่า มีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ในส่วนที่หนึ่ง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อให้พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี สำหรับในส่วนที่สอง คือ เพื่อให้สมดุล (ทั้งด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)
กรอบแนวคิด

เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา


คุณลักษณะ

เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติตนบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ความพอเพียงที่ประกอบกันขึ้นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้

(1) ความพอประมาณ หมายถึง ความเหมาะสมของการดำเนินงาน ทั้งในแง่ของขนาดที่ไม่เล็กเกินไปหรือไม่ใหญ่จนเกินตัว แต่เป็นไปตามอัตภาพและสภาพแวดล้อม และในแง่ของจังหวะเวลาที่ไม่เร็วเกินไปหรือไม่ช้าจนเกินไป แต่รู้จักทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินงานมีความก้าวหน้า โดยที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน

(2) ความมีเหตุผล หมายถึง การพิจารณาที่จะดำเนินงานใดๆ ด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

(3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การจัดองค์ประกอบของการดำเนินงาน ให้มีสภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี


เงื่อนไข

การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

เงื่อนไขความรู้ หมายถึง เครื่องอาศัยของการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ประกอบด้วย ความรอบรู้ คือ ความรู้ลึกในงานที่ทำและความรู้กว้างในสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่ทำ ความระลึกรู้ (สติ) คือ การยั้งคิดพิจารณาและรู้ทันสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะกระทำการใดๆ และความรู้ชัด (ปัญญา) คือ การเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างกระจ่างชัด ถูกต้องตามเหตุตามผลและตามจริง

เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง เครื่องอาศัยของการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่างดีงาม ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต คือ ความประพฤติชอบ มีการพูดและการกระทำซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง และไม่เอารัดเอาเปรียบ ความอดทน มีความเพียร คือ ความบากบั่น ความกล้าแข็ง มีความหนักแน่น ไม่ท้อถอย ทำให้การดำเนินงานรุดหน้าเรื่อยไปจนประสบผลสำเร็จ และความรอบคอบระมัดระวัง คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในทุกแง่ทุกมุมก่อนที่จะดำเนินงาน เพื่อมิให้เกิดความเผอเรอและพลั้งพลาด

กิจกรรมที่ 5


ประวัติส่วนตัว
      
       ชื่อ นายธเนศ  หาญใจ      
       สอนที่ โรงเรียนปากพนัง  อำเภอปากพนัง
       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 3



ประวัติการศึกษา
       2549  ระดับปริญญาโท  สาขา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)
ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
      2532  ระดับปริญญาตรี
สาขา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (โสตทัศนศึกษา) ที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ประวัติการทำงาน    
      2532  ผู้ช่วยช่างภาพโฆษณา  เนี้ยบโพโต้กราฟี่  กรุงเทพฯ
      2533  บรรณาธิกรณ์  หนังสือพิมพ์ข่าวสด   กรุงเทพฯ
      2534  อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนกุยบุรีวิทยา อำเภอกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
      2540  อาจารย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา  ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช
      2553  ครู คศ.2 โรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา  ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์จังหวัดนครศรีธรรมราช
      2553  ครู คศ.2 โรงเรียนปากพนัง  ถนนชายทะเล  อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช


ประวัติผลงาน      
      5  มกราคม 2553   ได้รับการคัดเลือกครูสอนดีสอนเก่ง  รุ่นที่ 2 แห่งสหวิชาดอทคอมสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
    2552  เว็บไซต์การ์ตูนแอนิเมชั่นผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจากสำนักงาน  คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทบุคคล/กลุ่มบุคคล ในโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการทำWeb Media   ปีงบประมาณ 2552
     2551  รางวัลชนะเลิศ การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้านพลังงานนิวเคลียร์ หัวข้อ “พลังงานนิวเคลียร์”  ในโครงการ NT TAM CAMP 2008 (Nuclear Technology Thailand Animation Multimedia Camp 2008)
     2549  ผลงานการพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องเทคโนโลยีทางการพิมพ์,
       วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


การประยุกต์สิ่งที่ดีในการพัฒนาตนเอง
    
   ดิฉันจะตั้งใจและให้ความสำคัญในกิจกรรมหรือหน้าที่ของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนร่วม เมื่อจบไปเป็นครูก็จะถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ได้ศึกษามาให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ ฝึกพัฒนาความสามารถของตนเองอยู่เรื่อยๆ มีความตั้งใจและความพยายามที่จะสร้างผลงานและทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีที่สิ่นสุด