1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ตคืออะไร
แท็บเล็ต คือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ควบคุมการใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัส มีขนามเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกกาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอิมเตอร์เน็ตแบบ WiFi และ WiFi + 3G
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
งานเขียนของคุณ สุรศักดิ์ ปาเฮ เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย
นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่ 26สิงหาคม 2554 เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮม(Cyber Home) ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา(Tablet for Education)ที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One Tablet PC Per Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ครั้งนี้
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระใน
การเรียนรู้
จากสรุปผลงานวิจัยของ Bata ICT Research ที่ได้ศึกษาผลการใช้แท็บเล็ตพีซีประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 12 โรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงระหว่าง ค.ศ.2004-2005 ซึ่งมีผลการศึกษาหลายประการที่นำมาพิจารณาและนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทด้านการศึกษาของไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้
ด้านการเรียน
การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
ด้านหลักสูตร
สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ต เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการเรียนการสอน และก้าวไปสู่การศึกษาสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ มิใช่เป็นเพียงม่านบังตาที่ฝรั่งเห็นแล้วอมยิ้ม เพราะการศึกษาของไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
ที่มา : บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย ( Tablet for Education : The Opportunity and Challenge ) โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ตอบ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด โดยสร้างขึ้นจากสภาพความตึงเครียด อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ เพราะแต่ละประเทศอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียน ดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า
สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาค นั้น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนนอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิญญาน คือ การทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึงการเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
ในอนาคตคนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้น การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน
1. ปรับกรอบแนวคิดของตัวเองให้เปิดกว้าง ศึกษาให้เข้าใจถึงผลกระทบทุกด้าน เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อการวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่คืบคลานเข้ามา
2. ศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียนให้ดีว่า มันคืออะไร หน้าตาของประชาคมอาเซียนเป็นอย่างไร
3. ฝึกฝนเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะ ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน และควรเพิ่มการฝึกฝนภาษาที่ 4 ด้วย
4. ศึกษาและทำความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับกฎและระเบียบต่างๆของ
5. พัฒนาทักษะของเราให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ และเป็นที่ต้องการของตลาด
อ้างอิง
ดร.ชูศักดิ์ ประเสริฐ .เรื่องสมาคมอาเซียน. ผอ.กลุ่มนโยบายและแผน
ไมตรี สุนทรวรรณ. เรื่องสมาคมอาเซียน. กรรมการผู้จัดการ.
3. ความเป็นครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
การที่ครูจะเป็นผู้นำทางด้านวิชาการหรือทางด้านการสอนนั้น ครูจะต้องมีพฤติกรรมดังนี้ คือ
1. หนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน เพื่อเราจะได้รู้ถึงความรสนิยมความต้องการของบุคคลต่างๆและความเคลื่อนไหวของทุกมุมโลกเพื่อจะได้บอกต่อให้กับผู้อื่นได้รู้ตามด้วย
2. อยู่กับปัจจุบัน/ทันสมัย การเป็นครูที่มีภาวะผู้นำนั้นจะต้องก้าวทันกับโลกปัจจุบันรูจักนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน รู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆได้ทันท่วงที
3. หาข้อมูลมีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก ครูที่เป็นผู้นำในการสอนที่ดีนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้เด็กนักเรียนได้รู้จักนำมาวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือความรู้ใหม่ๆในวิชาที่สอนหรือจะเป็นความรู้หรือข้อมูลข่าวสารอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวของนักเรียนเอง
4. ทำให้นักเรียนแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ในการที่ครูเป็นภาวะผู้นำให้แก่นักเรียนแล้ว ครูจะต้องให้นักเรียนได้รู้จักฝึกการเป็นภาวะผู้นำด้วย เช่น ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ได้พูดยกตัวอย่างให้นักเรียนได้ฟัง หรือการให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนการเป็นตัวแทนในการจัดกิจกรรมต่างๆ
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะการที่จะสร้างเด็กให้มีคุณภาพนั้นไม่ได้อยู่ที่เด็กมีความรู้ที่ดีเพียงอย่างเดียวแต่เด็กจะต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการเสียสละ รู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเด็กเหล่านี้จึงจะสามารถเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตได้
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง นอกจากการที่ครูจะสอนและให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องต่างๆแล้ว ครูที่มีภาวะความเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำต้องมีการเชิญวิทยากรหรือผู้มีความรู้เฉพาะทางมรให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นและได้รับความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆมากขึ้นด้วย
7. ท้าทายให้เด็กคิด ในจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพนั้นจะต้องนั้นจะต้องนำความรู้ต่างๆมาให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์อยู่เสมอ เช่น มีการตั้งคำถามแล้วให้นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันจนสามารถหาคำตอบได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเป็นคนรู้จักคิดและคิดได้ในหลายหลายแง่มุม
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
วิชานี้เป็นวิชาที่ดิฉันเองให้ความสนใจมาก เพราะเป็นวิชาที่แปลกใหม่เป็นการใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค่ามาก เพราะหลายคนนักที่ไม่ได้เรียนรู้หรือรู้จักบล็อก ตอนแรกในการเรียนดิฉันสับสนไม่เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์ให้ทำแต่เมื่อเริ่มทำไปพร้อมๆกับอาจารย์ก็รู้สึกว่าสนุกเป็นสิ่งใหม่ที่เราเองได้เรียนรู้เมื่อไม่เข้าใจหรือทำไม่ถูกก็จะขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอนและนำมาปฏิบัติลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งจนเกิดความชำนาญ
วิชานี้เป็นวิชาที่ทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจุบัน เป็นสิ่งที่หน้าเรียนรู้ เราสามารถเอาเวลาที่เราเปิดคอมเล่นคอมอยู่สามารถเข้ามาเล่นบล็อกได้โดยไม่เสียเวลาป่าวทำให้ไม่น่าเบื่อ และสนุกในการทำงาน
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
ควรให้คะแนนการปฏิบัติมากกว่าการสอบแต่ละครั้ง
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
พยายามฟังอาจารย์ทุกครั้งที่อาจารย์อธิบาย ตั้งใจทำและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
ไม่ได้มาเรียนระยะหลังๆ ประมาณ 1-2 ครั้งแต่จะทำงานส่งและจะถามเพื่อนๆตลอดว่าอาจารย์สอนอะไรบ้างในวันนั้น
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
จริง เพราะเมื่ออาจารย์สั่งงานถ้าทำไม่เสร็จก็จะกลับมาทำที่ห้องจนเสร็จ
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
ทำเองทุกครั้ง อาจจะมีแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและนำมาสรุปเป็นความคิดในแบบของเราเอง
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
เป็นความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
เกรด A เพราะตั้งใจทำงานทุกครั้ง ส่งงานทุกชิ้น ไม่เคยต้องให้อาจารย์มาคอยจี้เรื่องการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น